การนับถือศาสนาพุทธ

พุทธ

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักศึกษาที่นำมาให้ชมนี้ เป็นการถ่ายทอดความงามผ่านประสบการณ์ ความคุ้นเคยที่ได้สัมผัสกับตนเองตั้งแต่เกิด การเปลี่ยนแปลงไปของวิถีชีวิตในชุมชน ออกมาเป็นงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี

การรักษามรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น นับวันจะจางหายไปกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน หากเปลี่ยนแปลงปรับตัวอย่างมี “ราก”มิใช่เพียงกระแส และมีอัตลักษณ์แห่ง “ชาติพันธุ์” ของตนเอง ก็นับได้ว่าเป็นความโชคดี

ผลงานของนักศึกษา ๒ คนนี้ สะท้อนภาพประเพณีวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” ที่เป็นบรรพบุรุษของพวกเขา หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่า ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน 

แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่า ควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น 

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด ๓๗ ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรา นับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผี แต่คนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้

อ้างอิง 

http://www.openbase.in.th/node/717

ใส่ความเห็น